ขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
- ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ เช่น สำนักงานเขต,สำนักงานเทศบาล หรือ อบต. ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ
- สำนักงานเขตท้องถิ่นตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
- ได้รับหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการให้แก้ไขในบางรายละเอียด ก็ต้องดำเนินการแก้ไข และยื่นขออนุญาตอีกครั้ง
- เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างมาแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้ ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทรับสร้างบ้าน ดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป
หมายเหตุ: ในระหว่างก่อสร้าง หากมีเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง เช่น เสียงดังเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด วัสดุก่อสร้างหล่น หรือมีอุบัติเหตุ จนได้รับการร้องเรียน หน่วยงานภาครัฐอาจมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว จนกว่าขั้นตอนทางกฎหมายจะแล้วเสร็จจึงจะมีคำสั่งว่า จะให้ก่อสร้างต่อ หรือให้หยุดก่อสร้างถาวร
เอกสารที่ต้องเตรียมในส่วนของการขอนุญาตก่อสร้างอาคาร
เอกสารด้านบริษัทหรือผู้รับเหมา
- รายการคำนวนแบบบ้าน พร้อมลายเซ็นทุกหน้า (ในกรณีพื้นที่ใช้สอยอาคารมากว่า 150 ตรม.)
- หนังสือรับรอง วิศวกรรมควบคุม 1 ชุด (พร้อมสำเนาใบ กว) (ในกรณีพื้นที่ใช้สอยอาคารมากว่า 150 ตรม.)
- หนังสือผู้ควบคุมงาน (แบบ น.4 ) 1 ชุด (พร้อมสำเนาใบ กว.) (ในกรณีพื้นที่ใช้สอยอาคารมากว่า 150 ตรม.)
- หนังสือรับรอง สถาปัตยกรรมควบคุม 1 ชุด (พร้อมสำเนาใบ กส.)
เอกสารด้านเจ้าของบ้าน
- สำเนาโฉนดที่ดินพร้อมเซ็นรับรองทุกหน้า (เจ้าของ)
- สำเนาบัตรประชาชน (ผู้ขออนุญาติ)
- สำเนาบัตรประชาชน (ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขออนุญาติ)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน)
- ใบรับรองที่ดิน (ให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็น)
- ใบมอบอำนาจการขออนุญาติสร้าง (ถ้าเจ้าของที่ดิน ไม่ได้ขอเอง)
เอกสารสำหรับการยื่นขอสินเชื่อ
การยื่นกู้กับสถาบันการเงิน นอกจากจะมีเอกสารประจำตัวและเอกสารแสดงรายได้แล้วนั้น เรายังต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้าง ซึ่งอาจจะต้องมีการติดต่อกับบุคคลหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก, ผู้รับเหมา, เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น อาจจะดูยุ่งยากอยู่บ้าง แต่เอกสารเหล่านี้ผู้กู้จำเป็นที่จะต้องแสดงต่อสถาบันการเงิน เพื่อใช้ในการพิจารณาประกอบสินเชื่อโดยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งปลูกสร้างมีดังนี้
- โฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์ น.ส.3ก ฉบับจริงพร้อมสำเนาถ่ายหน้า-หลังแสดงตำแหน่งแปลงที่ดินที่ต้องการปลูกสร้างโดยโฉนดที่ดินเอกสารชุดนี้จะต้องเป็นชื่อของผู้กู้หลักหรือผู้กู้ร่วม
- แบบบ้าน, แปลนบ้าน, เอกสารประมาณราคาก่อสร้าง ถือเป็นเอกสารที่สำคัญมากในการยื่นขอสินเชื่อเพราะทางสถาบันการเงินจะดูแบบแปลนบ้านรวมถึงรายการวัสดุก่อสร้างเพื่อพิจารณาวงเงินที่ผู้กู้จะได้รับ
- สัญญาผู้รับเหมาก่อสร้าง แสดงถึงลำดับการปลูกสร้างตั้งแต่เริ่มจนจบ เป็นการแสดงความชัดเจนว่ามีผู้รับผิดชอบสร้างบ้านได้จริงตามแผนที่กำหนดไว้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของผู้รับเหมา จะรวมอยู่ในวงเงินกู้ที่เราได้ทำการขอกู้กับสถาบันการเงิน
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งก่อนที่จะทำการปลูกสร้างบ้านได้นั้นผู้กู้ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องอาทิ ถ้าหากสร้างบ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ก็สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ที่ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตในพื้นที่ที่จะสร้างบ้าน ถ้าหากอยู่ต่างจังหวัดสามารถยื่นขอได้ที่กองช่าง องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นการยืนยันว่าการก่อสร้างได้รับการอนุญาต เป็นไปอย่างถูกต้อง และจะไม่เจอกับปัญหาใดๆ ในภายหลัง
ติดต่อสถาบันการเงินยื่นเรื่องกู้
ก่อนที่จะยื่นเรื่องกู้สินเชื่อกับทางสถาบันการเงินใด ผู้กู้จะต้องตระหนักได้ว่าการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยนั้น คือเงินกู้ระยะยาวที่กู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน ดังนั้นผู้กู้ควรที่จะต้องพิจารณาเงื่อนไข, อัตราดอกเบี้ย, ค่าธรรมเนียม, วงเงินที่จะได้รับ และนำมาเปรียบเทียบว่าสถาบันการเงินแห่งใด ให้ความคุ้มค่ามากที่สุดและต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นขอสินเชื่อดังนี้
เอกสารแสดงรายได้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือรับรองเงินเดือน
- สลิปเงินเดือนย้อนหลัง
- รายการเดินบัญชีสเตทเม้นย้อนหลัง 6- 12 เดือน
- หากมีบัญชีเงินออมหรือรายได้พิเศษจากช่องทางอื่นๆ ควรนำไปแสดงด้วย
หากไม่ได้ทำงานประจำผู้กู้ต้องเตรียมเอกสารแสดงรายได้เช่น
- รูปถ่ายกิจการ ร้านค้า
- ใบประกอบการ
- บิลล์ขายสินค้า
- รายการเดินบัญชีที่มีเงินเข้าเป็นประจำ
“กรณีกู้ร่วม” ผู้กู้ร่วมต้องเตรียมเอกสารแสดงรายได้แบบเดียวกันหนึ่งชุดเพื่อนำไปยื่นกู้พร้อมกัน
เอกสารประกอบการปลูกสร้าง
- โฉนดที่ดิน
- แบบบ้านที่จะสร้างและเอกสารประมาณราคาก่อสร้าง
- ใบขออนุญาตก่อสร้าง
- สัญญาผู้รับเหมา
หาสถาบันการเงินอนุมัติวงเงินกู้ ทางสถาบันการเงินจะแจ้งรายละเอียดมายังผู้กู้ เพื่อให้เข้าไปทำสัญญากู้ยืมเงินและกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังกำหนดระยะเวลาในการรับเงินเป็นงวด ตามความคืบหน้าของการปลูกสร้างอีกด้วย โดยในการเบิกเงินแต่ละงวดธนาคารจะประเมินความคืบหน้าในการก่อสร้าง และเงินในงวดสุดท้ายเมื่อทำการก่อสร้างบ้านเสร็จแล้วสถาบันการเงินจะเข้าไปตรวจความเรียบร้อย ว่าเป็นไปตามสัญญาที่ระบุหรือไม่หากไม่เป็นไปตามสัญญาสถาบันการเงินมีสิทธิ์ปรับหรือยกเลิกสัญญาได้